การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวมอนเตสซอรี่ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย
ตัวแปรต้น : กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตาแนวมอนเตสซอรี่ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่2. ขั้นเชื่อมโยงประสาทรับรู้
3. ขั้นสร้างประสบการณ์ผ่านสัมผัส
4. ขั้นตรวจสอบความคิด
ตัวแปรตาม : ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
จุดม่งหมาย
1.เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวมอนเตสซอรี่ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวมอนเตสซอรี่ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านสวนเบี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 29 คน
กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวมอนเตสซอรี่ คือ การจัดประสบการณ์ที่เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่าง อิสระตามความสนใจผ่านสื่ออุปกรณ์ กิจกรรม สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนำไปสู้การค้นพบความรู้จริงความเข้าใจเชิงนามธรรมทางด้านคณิตศาสตร์ผ่านสื่ออุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อการสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์อย่างมีความหมายโดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ
1.ขั้นเร้าความสนใจ คือ เป็นขั้นในการกระตุ้นความสนใจของเด็กปฐมวัยให้เกิดความสนใจที่อยากจะเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อของจริง ของจำลอง เพลง คำคล้องจอง รูปภาพ และสภาพแวดล้อมทึ่ดงดูดความสนใจของเด็กปฐมวัย
2.ขั้นเชื่อมโยงประสาทรับรู้คือเป็นชั้นในการเปิดโอกาสและกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้เชื่อมโยงความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมกับความรู้ใหม่หรือประสบการณ์ใหม่ผ่านประสาทรับรู้ทั้ง 5 ของเด็กปฐมวัย
3.ขั้นสร้างประสบการณ์ผ่านสัมผัส คือ เป็นขั้นในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสัมผัสสื่ออุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์จนนำไปสู่การค้นพบความรู้ความเข้าใจเชิงนามธรรมทางคณิตศาสตร์ผ่านสื่อที่เป็นรูปธรรมโดยไม่รู้ตัว
4.ขั้นตรวจสอบความคิด คือ เป็นขั้นในการให้เด็กปฐมวัยได้มีโอกาสตรวจสอบความคิด ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของตนเองหลังจากที่ได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆเด็กสามารถนำความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้เหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆในชีวิตประจำวันได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อตรวจสอบความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย คือ ความสามารถพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยพุทธศักราช 2551 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท ) สำหรับเด็กอายุ 4 ปี ได้แก่ ความสามารถด้านจำนวนและการดำเนินการ ความสามารถด้านการวัด ความสามารถด้านเรขาคณิต และความสามารถด้านพีชคณิต
สรุป
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำกับวัตถุประสงค์ต่างๆเพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาการจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุดและกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำหรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดแบบมอนเตสซอรี่ควรเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมและขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองป่านสื่ออุปกรณ์ที่ให้เด็กได้สัมผัสได้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ความคิดและประสบการณ์เดิมของตนเองกับความรู้และประสบการณ์ใหม่ผ่านประสาทรับรู้เพื่อสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์อย่างอิสระตามความสนใจ นำไปสู่การสร้างความคิดรวบยอดและเกิดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอย่างมีความหมายผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางมอนเตสซอรี่ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องเหมาะสมกับวัยความสนใจและความสามารถของเด็กปฐมวัยดังแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางมอนเตสซอรี่ที่กล่าวไว้ว่า “ ไม่มีใครได้รับการศึกษาโดยคนอื่น ตัวเขาเองต้องทำให้เกิดขึ้นเองการให้โอกาสเด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตนเองจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น