วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

RECORDING DIARY 12

 







บันทึกการเรียนรู้


วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 3 แผ่นให้ลองทบทวนความรู้ตั้งแต่ที่เรียนมาเขียนลงในกระดาษตามหัวข้อที่อาจารย์ให้

❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

🍉 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 

- ส่งเสร้ิมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจองหรือเครื่องดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายใช้ประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ด้วยการเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ

🍉 กิจกรรมเสรี

- เล่นอิสระตามมุมหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ในห้องเรียน
- ให้เด็กเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มหรืออาจเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนจัดเสริมขึ้น

 
🍉 กิจกรรมเสริมประสบการณ์

- พัฒนาทักษะการเรียนรู้ มีการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
- ฝึกการฟัง  พูด  สังเกต คิดแก้ปัญหาและใช้เหตุผล
- ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ

🍉 กิจกรรมกลางแจ้ง

- จัดให้ออกไปข้างนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระโดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

🍉 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

 - แสดงออกทางอารมณ์  ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยจัดกิจกรรมศิลปะลักษณะต่างๆ

🍉 กิจกรรมเกมการศึกษา

- เป็นเกมที่เล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้
- มุ่งเน้นการพัฒนาสติปัญญาให้รู้จักสังเกต  คิดหาเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์
- เป็นการฝึกฝนกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ

❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

🍀 ประเมินอาจารย์

               อาจารย์คอยให้นำแนะนำได้ดีมาก และคอยช่วยเหลือนักศึกษาอยู่ตลอด

🍀 ประเมินตัวเอง

                ตั้งใจฟังที่อาจารย์และทำงานส่งตรงตามเวลา

🍀 ประเมินเพื่อน

               ตั้งใจฟังอาจารย์และช่วยกันทำงานจนเสร็จ












RECORDING DIARY 11


 บันทึกการเรียนรู้

วันนี้อาจารย์เปิดแผนการสอนของแต่ละกลุ่มแล้วอาจารย์ก็วิเคราะห์ว่าแต่ละกลุ่มนั้นจะต้องเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนแผนการสอนอย่างไรบ้าง

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

💜 มาตรฐาน และ ตัวบ่งชี้ 💜

💧 มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีีสุขนิสัยที่ดี

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัยสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

💧 มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ใช้มือ - ตา ประสานสัมพันธ์กัน

💧 มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

💧 มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจ มีความสุข และแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
 
💧 มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม  จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ซื่อสัตย์สุจริต
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 มีความเมตตากรุณามีน้ำใจ และช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 มีความรับผิดชอบ

💧 มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ช่วยเหลือตนเองในการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 ประหยัดและพอเพียง

💧 มาตรฐานที่ 7 รักธรมมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ดูแลรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย

💧 มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฎิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในรับอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 ยอมรับคามเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่ 8.3 ปฎิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

💧 มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 สนทนาตอบโต้และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 อ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้

💧 มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 10.1 มีความสามารถในการคิดรวบยอด
ตัวบ่งชี้ที่ 10.2 มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่ 10.3 มีความสามารถในการคดแก้ปัญหาและตัดสินใจ

💧 มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

ตัวบ่งชี้ที่ 11.1 ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรคื
ตัวบ่งชี้ที่ 11.2 แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

💧 มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 12.1 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 12.2 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗
🍀 ประเมินอาจารย์

               อาจารย์คอยให้นำแนะนำได้ดีมาก

🍀 ประเมินตัวเอง

                ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำและนำมาปรับใช้

🍀 ประเมินเพื่อน

               ตั้งใจฟังอาจารย์และช่วยกันตอบคำถาม

 

                          

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

RECORDING DIARY 10

 







บันทึกการเรียนรู้

อาจารย์ให้แต่ละนำโบรชัวร์มาเพื่อจะนำมาทำกิจกรรมในวันนี้ อาจารย์แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 9 - 10 คน



🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄

กลุ่มที่ 1 ของใช้ทั่วไป











กลุ่มที่ 2 อาหาร


กลุ่มที่ 3 เครื่องใช้ไฟฟ้า





🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄

🍍หลักการหลักสูตร พ.ศ. 2560

          จัดการเรียนรู้ให้กับเด็กทุกประเภท จัดการศึกษาที่เน้นความเป็นปัจเจกของเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมและการสื่อภาษาให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วมร่วม

👉👉 พัฒนาทักษะชีวิต  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  การเป็นคนดีมีวินัย และมีสำนึกความเป็นไทย 👈👈

🍋 ประกอบด้วย 2 หลักสูตร คือ

👉 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ ต่ำกว่า 3 ปี : สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
👉 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ขวบบริบูรณ์ : โรงเรียนอนุบาล 
( รัฐบาลและเอกชน )

🍓 ปรัชญา

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
👉 Education : ส่งเสริมพัฒนาการ - สั่งสอน
👉 Care : ดูแลสุขภาพกาย - ใจ

ที่ตั้งอยู่บนฐานของ
👉 วัฒนธรรม  ความเป็นท้องถิ่น
👉 คุณภาพชีวิต : สุขภาพดี  ครอบครัวดี

เพื่อการเป็นคนที่สมบูรณ์และมีคุณค่า

🍒 การจัดการเรียนรู้ + มาตรฐานการศึกษาหลักสูตร พ.ศ. 2560

     เรียนรู้คณิตศาสตร์และการใช้เหตุผล  เรียนรู้การคิดและสร้างสรรค์
เรียนรู้ทักษะชีวิต : ปรับตัวได้  แก้ปัญหาเป็น  เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เรียนรู้ความมีวินัย

🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄

🍀 ประเมินอาจารย์

               อาจารย์คอยให้นำแนะนำได้ดีมาก

🍀 ประเมินตัวเอง

                ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำและนำมาปรับใช้

🍀 ประเมินเพื่อน

               ตั้งใจฟังอาจารย์และช่วยกันทำงานจนเสร็จ





RECORDING DIARY 9


 





บันทึกการเรียนรู้

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์มาทำ เรื่องเกี่ยวกับ STEM กลุ่มของพวกเราประดิษฐ์ " กระทง "







🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀

🍀 ประเมินอาจารย์

               อาจารย์คอยให้นำแนะนำได้ดีมาก

🍀 ประเมินตัวเอง

                ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำและนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

🍀 ประเมินเพื่อน

               ตั้งใจฟังอาจารย์

RECORDING DIARY 8

 







บันทึกการเรียนรู้

วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มกันทำกิจกรรม " สไลเดอร์ "

🌻 อุปกรณ์


หลอด


แผ่นชาร์ต

🌻 กติกา

- ให้สร้างสไลด์เดอร์โดยให้ใช้หลอดให้ครบ 25 อัน
- สไลด์ต้องทรงตัวอยู่กับที่เองได้ โดยไม่ใช้คนจับ
- ต้องใช้ลูกบอลกลิ้งให้ลงได้ช้าที่สุด




พอทำเสร็จแล้วให้ทุกกลุ่มออกมาทดลองกลิ้งลูกบอลลงสไลด์เดอร์ว่ากลุ่มไหนกลิ้งได้ช้าที่สุด

🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊🍊

🍏ประเมินอาจารย์

                   อาจารย์ให้ความรู้นักศึกษาได้เป็นอย่างดี

🍏ประเมินตัวเอง

                    ตั้งใจและช่วยเพื่อนทำงาน

🍏ประเมินเพื่อน

                     เพื่อนตั้งใจช่วยกันทำงานจนเสร็จ



RECORDING DIARY 7

 






บันทึกการเรียนรู้

         จากอาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละคนลองเขียนแผนการสอนกิจกรรม " เสริมประสบการณ์ " ของหน่วยตัวเองแล้วให้อัดคลิปส่งเป็นรายบุคคล วันนี้อาจารย์ก็ได้เปิดคลิปการสอนแต่ละบุคคลแล้วอาจารย์ก็ได้วิเคราะห์คลิปการสอนว่า แต่ละคนควรที่จะเสริมอะไรลงไปบ้าง 





🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒

กิจกรรม เสริมประสบการณ์

หน่วย  เมืองไทยที่รัก

🍭ขั้นนำ

1. ครูพูดคุยกับเด็กๆเกี่ยวกับขนมไทย

2. ครูนำรูปขนมไทยมาให้เด็กๆดูแล้วถามเด็กว่า ในรูปเด็กๆรู้จักชื่อหรือเคยเห็นขนมไทยนี้ไหม


🍭ขั้นสอน

1. ครูใช้คำถามกับเด็กๆว่า เด็กๆเห็นอุปกรณ์อะไรบนโต๊ะนี้ และเด็กๆรู้ไหมว่าเราจะมาทำขนมไทยอะไรกัน

2. ครูบอกกับเด็กๆว่า วันนี้เราจะมาทำขนมไทย คือ ลูกชุบ

3. ครูบอกอุปกรณ์ ส่วนผสม และขั้นตอนการทำลูกชุบให้กับเด็ก

ขั้นตอนการทำลูกชุบ

  1. นำถั่วเหลือง กะทิ น้ำตาลทราย ปั่นรวมให้เข้ากัน

↓ 

                       2. เทส่วนผสมลงกระทะเคี่ยวถั่วจนปั้นเป็นลูกได้

3. นำมาถั่วมาปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น ผลไม้ จากนั้น

               นำไปชุบกับสีผสมอาหาร แล้วนำไปเคลือบกับผงวุ้นที่ละลายไว้

4. แบ่งกลุ่มเด็กๆออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จากนั้นนำถั่วที่ครูทำสำเร็จมาแบ่งให้แต่ละกลุ่ม

5. เด็กๆปั้นเสร็จแล้วนำลูกชุบมาตกแต่งและนำมาเคลือบผงวุ้นที่ครูละลายไว้

6. ครูให้เด็กชิมลูกชุบ 


🍭ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนวิธีการทำ ส่วนผสมและอุปกรณ์ในการทำลูกชุบ

🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒

🍀 ประเมินอาจารย์

               อาจารย์คอยให้นำแนะนำได้ดีมาก

🍀 ประเมินตัวเอง

                ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำและนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

🍀 ประเมินเพื่อน

               ตั้งใจฟังอาจารย์



RECORDING DIARY 6

 







 บันทึกการเรียนรู้

วันนี้อาจารย์ให้นีกศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการเรียนการสอนทั้ง 6 รูปแบบ




การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป (High Scope)
        เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์  ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้  ผ่านการกระทำของตน และการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน

💗 หัวใจของไฮ/สโคป ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวน

      1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
      2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน
       3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

💬 องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป ต้องคำนึงถึง 6 องค์ประกอบ

        1. เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆตามความสนใจของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้จากผู้ใหญ่

        2. จัดเตรียม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ในห้องเรียนให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับอายุของเด็ก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกวัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ และควรมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานของเด็ก ซึ่งองค์ประกอบนี้ช่วยให้เด็กรู้จักการเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหามากขึ้น

        3. พื้นที่และเวลาในห้องเรียนแบบไฮ/สโคป ต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมของเด็ก ทั้งการทำกิจกรรมคนเดียวและการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม รวมถึงมีการจัดมุมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านบทบาทสมมุติในมุมประสบการณ์ต่าง ๆ และควรจัดสรรเวลาในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันให้เพียงพอ โดยไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักการรักษาเวลาอีกด้วย

       4. เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับวัตถุและนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องของวัตถุนั้นได้ด้วยตัวเอง

       5. ภาษาจากเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็กออกมาเป็นคำพูด ซึ่งเด็กมักจะเล่าว่าตนเอง กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิด เด็กจะรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

      6. ครูคือผู้สนับสนุนและชี้แนะ ซึ่งครูในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่คอยรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด ทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และเป็นผู้สร้างสรรค์ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้พบกับประสบการณ์สําคัญมากมาย ในชิวตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ

การจัดการเรียนการสอนแบบ มอนเตสซอรี่

       เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

💜 หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
เด็กได้รับการยอมรับนับถือ 
          เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
- จิตซึมซับ
      เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต
        เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม
        เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง
       เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล
       คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน

การสอนแบบสืบเสาะ
        เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา  สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า
กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es
        1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น   ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
        2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
       3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
        4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
        5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก และหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach

        เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน

💚 การสอน 3 ระยะของ Project Approach

ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ

         คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป

ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ

        ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการ

ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ

          เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป

การจัดการเรียนการสอน STEM

        เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญ



Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน 
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 
  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf)

          การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ

บทบาทครู ( 3 R )
  1. การทำซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดมั่นคง ครูควรทำกิจกรรมการเรียนการสอนและงานบ้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอ หรือเรียกว่าการทำซ้ำ
  2. จังหวะ (Rhythm) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยเด็ก ครูควรจัดตารางประจำวัน ตารางกิจกรรมในสัปดาห์ และเทศกาลประจำปี ให้สอดคล้องกับจังหวะที่ราบรื่นแบบลมหายใจเข้าและออก ให้ตารางของช่วงนั้นๆเหมาะสมลื่นไหล ไม่อัดแน่นหรือติดขัด หรือเรียกว่า การรักษาจังหวะ หรือ ความรู้สึกแบบท่วงทำนอง
  3. เคารพ (Reverence) ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า “มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” ทำให้เราอยู่ในโลกด้วยความรู้สึกกตัญญูและเคารพต่อธรรมชาติ ทั้งยังเคารพต่อศักยภาพของความเป็นมนุษย์

🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉

💣ประเมินอาจารย์

             อาจารย์คอยแนะนำและคอยเพิ่มเติมจากสิ่งที่เราได้นำเสนอไปทำให้เข้าใจมากขึ้น

💣ประเมินตัวเอง

             เข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนของแต่ละรูปแบบมากขึ้น

💣 ประเมินเพื่อน

              ตั้งใจนำเสนองานและช่วยกันตอบคำถาม


RECORDING DIARY 12

  บันทึกการเรียนรู้ วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 3 แผ่นให้ลองทบทวนความรู้ตั้งแต่ที่เรียนมาเขียนลงในกระดาษตามหัวข้อที่อาจารย์ให้ ❤❤❤...